เมนู

อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรคที่ 6



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 6 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตํ อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ความว่า ปุถุชน เว้นแล้วจาก
การศึกษาภวังคจิตนั้น. ในบทว่า ตํ อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นั้น ชื่อว่า
ไม่ได้ศึกษาไญยธรรมเพราะไม่มีอาคมนิกายที่จะเรียน และอธิคม
มรรคผลที่จะบรรลุ. จริงอยู่บุคคลใดสอบสวนพระสูตรนี้ โดยเนื้อ
ความตั้งแต่ต้น ยังไม่รู้ด้วยอำนาจนิกาย คือคัมภีร์ที่มาของสูตรนี้
โดยเนื้อความตั้งแต่ต้น ยังไม่รู้ด้วยอำนาจนิกาย คือคัมภีร์ที่มา
ของสูตรนี้ และด้วยอำนาจมรรคผล อันผู้ปฏิบัติพึงบรรลุว่า ชื่อว่า
ภวังคจิตนี้ แม้บริสุทธิ์ตามปกติ ก็เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสมี
โลภะเป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ในขณะแห่งชวนจิต. อนึ่งผู้ใดไม่มีนิกาย
เป็นที่มา อันจะขบธรรมให้เข้าใจตามความเป็นจริง เพราะเว้นการ
เรียนสละการสอบถามในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการและ
สติฐานเป็นต้น และไม่มีอธิคม เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผล ที่
จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ศึกษาไญยธรรม เพราะ
ไม่มีอาคมและอธิคม.

ปุถูนํ ชนนาทีหิ การเณหิ ปุถุชฺชโน
ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา ปุถุ วายํ ชโน อิติ.

ชนนี้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีทำ
กิเลสเป็นอันมากให้เกิดเป็นต้น หรือว่าชื่อว่า
ปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในแห่งชนผู้มีกิเลสหนา.


จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีการทำ
ให้เกิดกิเลสมีประการต่าง ๆ เป็นอันมาก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะทำให้เกิดกิเลสเป็นอันมาก. ชื่อว่า
ปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิอันยังไม่ละเว้นเป็นอันมาก. ชื่อว่า
ปุถุชน เพราะปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่าง ๆ มาก. ชื่อว่า ปุถุชน
เพราะถูกโอฆะกิเลสดุจห้วงน้ำต่าง ๆ เป็นอันมากพัดพาไป. ชื่อว่า
ปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยเครื่องเดือดร้อนเป็นอันมาก. ชื่อว่า
ปุถุชน เพราะยินดี กำหนัด ละโมภ สยบ หมกมุ่น ติด ข้อง
พัวพัน ในกามคุณทั้ง 5 มาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ 5
ครอบคลุม. คล้องปิด กั้น กำบังไว้มาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน
เพราะหยั่งลงภายในแห่งชนผู้มีกิเลสหนา เป็นไปล่วงการนับ
ผู้หันหลังให้อริยธรรม ผู้ประพฤติธรรมที่ต่ำดังนี้ก็มี. ก็ปุถุชนนี้
นับว่าเป็นคนละพวกกันทีเดียว. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นผู้ไม่เกี่ยว
ข้องกับพระอริยเจ้า ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น. ด้วย
สองบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ดังพรรณนามาอย่างนี้ ท่านกล่าว
ปุถุชนเหล่าใดไว้ 2 จำพวกว่า

ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา
อนฺโธ ปุถุชฺชนโน เอโก กลิยาณโก ปุถุชฺชโน.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ ตรัส
ปุถุชนไว้ 2 พวก คือ อันธปุถุชน 1 กัลยาณ-
ปุถุชน 1.


บรรดาปุถุชนที่กล่าวไว้แล้วทั้ง 2 จำพวกนั้น อันธปุถุชน
พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวไว้แล้ว. บทว่า ยถาภูตํ นปฺปชานาติ ความว่า
ปุจชน ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ ชื่อว่า
เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสทั้งหลายอันจรมาอย่างนี้ ชื่อว่า หลุดพ้น
แล้วอย่างนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่รู้. บทว่า
จิตฺตภาวนา นตฺถิ ได้แก่ ความตั้งมั่นแห่งจิต การกำหนดจิตไม่มี.
ด้วยภาวะที่ไม่มีนั่นแลทรงแสดงว่า เรากล่าวว่าไม่มีดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุตวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการศึกษา. ก็ในบทว่า
สุตวา นี้ เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบความโดยตรงกันข้ามกับ
บทว่า อสฺสุตวา.
บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ พระอริยะที่ไม่เป็นพระสาวกก็มี
เช่นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระสาวกที่ไม่เป็น
พระอริยะก็มี เช่นคฤหัสถ์ผู้ยังไม่บรรลุผล. ไม่เป็นทั้งพระอริยะ